ขนมชั้นเป็นขนมไทยโบราณ
และยังเป็นขนมมงคลที่ใช้ในงานมงคลต่างๆ คนโบราณนิยมทำกันถึง 9 ชั้น
เพราะถือเคล็ดเลข 9 ว่า จะได้เป็น “ศิริมงคลเจริญก้าวหน้า
มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงขึ้นเรื่อยๆ” แก่เจ้าภาพ
และชุดขนมชั้นยังจัดอยู่ในชุดของขนมแต่งงานในพิธีขันหมาก
เนื่องจากมีชื่อที่เป็นศิริมงคล เชื่อว่าทุกคนคงเคยรับประทานขนมชั้นมาแล้ว
ด้วยสีสันน่ารับประทาน มีรสหวานหอมอร่อย วันนี้เรา zabwer.com
จึงได้นำวิธีทำขนมชั้นสูตรอร่อยๆ มาฝากครับ เป็นสูตรของคุณนุช ขนมชั้น วุ้นกุหลาบ และเบเกอรี่ ที่ได้แบ่งปันสูตรดีๆนี้
เป็นอีกสูตรขนมชั้นที่อร่อย หวานหอมกำลังดี
และนุ่มเหนียว…ที่คนชอบขนมชั้นห้ามพลาด
ที่มีเคล็ดลับขั้นตอนการทำดังนี้ครับ
ส่วนผสม
แป้งมันสำปะหลัง 300 กรัม
แป้งท้าวยายม่อม 40 กรัม
แป้งข้าวเจ้า 40 กรัม
น้ำตาลทราย 600 กรัม (เป็นสูตรหวานกำลังดี)
กะทิกล่อง(อร่อยดี) 850 กรัม (หรือ 850 มิลลิลิตร …คืออันเดียวกันมีค่าเทียบเท่ากัน)
ใบเตย
** หมายเหตุ : สูตรนี้ได้ 50 ชิ้น สำหรับพิมพ์ขนาด 5 ซม.
วิธีทำ
1.
เริ่มจากเคี่ยวกะทิน้ำเชื่อมก่อนเลย…แบ่งกะทิ 1/3 ใส่หม้อไปตั้งไฟอ่อนๆ
เอาน้ำตาลทรายใส่
และเอาใบเตยหั่นเป็นชิ้นใส่ลงไปพร้อมกันเลย…จากนั้นเคี่ยวเอาแค่พอน้ำตาลทรายละลายสักครู่ไม่ถึงกับดือด
(จะได้กลิ่นหอมของใบเตยออกมา) แล้วยกลงรอให้เย็น
2. ผสมแป้งทั้ง 3 อย่างให้เข้ากัน แล้วนำแป้งไปผสมกับกะทิทีละน้อยๆนวดให้เข้ากัน ดังนี้;
2.1) เอาแป้งทั้งสามอย่างผสมลงในหม้อ (หรือชามผสมก็ได้) คนให้เข้ากันและทำบ่อตรงกลาง
2.2) เอาน้ำกะทิที่เหลือค่อยๆใส่ลงไป สัก 1-2 ถ้วย
2.3) คนแป้งกับกะทิด้วยทัพพี คนแป้งไปเรื่อยๆ…พอแป้งแข็งจับเป็นก้อนเติมกะทิลงไปอีก 1-2 ถ้วย
2.4) ใส่กะทิเมื่อแป้งเริ่มหนืด…และคนต่อไปจนแป้งทั้งหมดละลาย…ทำจนกะทิหมด
2.5) จะได้แป้งละลายไม่เป็นก้อน
2.6) จากนั้นจึงเติมน้ำเชื่อมกะทิลงไป แล้วคนๆๆๆๆ อีก 5-10 นาที
3. เอาซึ้งใส่น้ำประมาณ ¾ ของรังถึง ตั้งไฟใช้ไฟแรง…ตั้งน้ำจนเดือด
4. จากนั้นนำถาดอลูมิเนียมสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือพิมพ์ไปนึ่งในซึ้งน้ำเดือดให้ร้อนจัด ประมาณ 5 นาที (เพื่อป้องกันขนมติดขอบพิมพ์)
5. แบ่งแป้งเป็น 2 ถ้วย โดยถ้วยที่ 1 ผสมกับน้ำใบเตย และถ้วยที่ 2 เป็นน้ำแป้งสีขาว…โดยสีในแป้งให้ผสมอ่อนกว่าสีที่ต้องการ เพราะเวลานึ่งสุก สีของขนมจะเข้มขึ้นอีก
6. หยอดแป้งขนมลงถาดหรือพิมพ์ที่เตียมไว้ ตักแป้งใส่แต่ละครั้งให้สลับสีกัน (ปริมาณเท่ากัน) ใช้เวลานึ่ง 5-7 นาทีต่อชั้น (ให้สังเกตุแป้งที่สุกจะมีลักษณะใสเป็นเงา) เมื่อแป้งสุกแล้วจึงค่อยหยอดชั้นต่อไปเรื่อยๆ จนเต็มถาด…นึ่งจนสุก
· ถ้าใช้พิมพ์ 5ซม. ให้หยอด 3-4 ชั้น แต่ละชั้นใช้แป้งประมาณ ¾ ช้อนโต๊ะ ใช้เวลานึ่ง 5-7 นาทีต่อชั้น
7. เมื่อขนมสุกแล้ว...ให้ปิดฝารังถึงก่อน แล้วยกถาดขนมออก ขนมที่ยกลงจากรังถึงให้วางพักบนตะแกรงพักจนเย็นสนิทซะก่อน…แล้วจึงค่อยแกะขนมออกจากถาด และหั่นแบ่งเป็นขนาดตามต้องการ ให้จุ่มมีดลงในน้ำร้อน แล้วกดลงบนขนมเป็นชิ้นๆ (เพื่อไม่ให้น่าขนมเละ) จัดใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
เคล็ดลับการนึ่งขนมชั้นให้อร่อย
1. การตักแป้งหยอดแต่ละชั้น ให้ตักแป้งใส่สลับสีกัน ส่วนชั้นสุดท้ายควรใส่เป็นสีเข้มครับดูมีสีสันน่ารับประทาน
2. การตักแป้งหยอดชั้นถัดไป จะต้องให้แป้งขนมชั้นล่างสุกซะก่อน…สังเกตุคือจะมีลักษณะใสเป็นเงา เพราะถ้าแป้งชั้นใดชั้นหนึ่งไม่สุก ชั้นต่อๆไปก็จะนึ่งไม่สุกด้วย ใช้เวลานึ่งประมาณ 5-7 นาทีต่อชั้น (ขึ้นอยู่กับปริมาณแป้งที่ใส่…ถ้าปริมาณแป้งมาก, ก็ใช้เวลานึ่งมากด้วย) แล้วจึงใส่แป้งชั้นต่อไป
3. ก่อนจะหยอดส่วนผสมแป้งทุกครั้ง ควรคนส่วนผสมให้เข้ากันก่อน เพราะแป้งมักจะนอนก้น
4. การนึ่งขนมในแต่ละชั้น…ทุกครั้งที่จะปิดฝารังถึง…ให้เอาผ้าสะอาดเช็ดหยดน้ำที่เกาะอยู่ในฝาซึ้งให้แห้งก่อนทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ละอองน้ำที่ฝารังถึงหยดลงบนหน้าขนม
5. ขนมชั้นที่ดี เวลาสุกแล้วจะมีหน้าขนมเรียบ แป้งมีความเหนียวนุ่ม และสามารถลอกเป็นชั้นๆได้ มีรสชาติหอมหวานมันกำลังดี
เคล็ดลับความอร่อย
แป้งแต่ละชนิดที่เป็นส่วนผสมในขนมชั้นล้วนแต่มีความสำคัญแตกต่างกันไป ดังนี้
· แป้งมัน ทำให้เนื้อขนมเนียน นุ่ม เหนียว หนืด ดูใสเป็นมัน
· แป้งท้าวยายม่อม ทำให้เนื้อขนมเนียน เหนียว แข็ง แต่จะใสน้อยกว่าแป้งมัน
· แป้งข้าวเจ้า ทำให้เนื้อขนมแข็ง และอยู่ตัว
· แป้งถั่ว จะทำให้ขนมอยู่ตัว ไม่เหนียวมากเกินไป
ส่วนผสม
แป้งมันสำปะหลัง 300 กรัม
แป้งท้าวยายม่อม 40 กรัม
แป้งข้าวเจ้า 40 กรัม
น้ำตาลทราย 600 กรัม (เป็นสูตรหวานกำลังดี)
กะทิกล่อง(อร่อยดี) 850 กรัม (หรือ 850 มิลลิลิตร …คืออันเดียวกันมีค่าเทียบเท่ากัน)
ใบเตย
สีผสมอาหารตามชอบ / หรือน้ำคั้นจากดอกอัญชัน-ใบเตย (ใช้น้ำคั้นเท่าไหร่…ก็ลดปริมาณกะทิลงเป็นจำนวนเท่ากัน)
** หมายเหตุ : สูตรนี้ได้ 50 ชิ้น สำหรับพิมพ์ขนาด 5 ซม.
วิธีทำ
2.1) เอาแป้งทั้งสามอย่างผสมลงในหม้อ (หรือชามผสมก็ได้) คนให้เข้ากันและทำบ่อตรงกลาง
2.2) เอาน้ำกะทิที่เหลือค่อยๆใส่ลงไป สัก 1-2 ถ้วย
2.3) คนแป้งกับกะทิด้วยทัพพี คนแป้งไปเรื่อยๆ…พอแป้งแข็งจับเป็นก้อนเติมกะทิลงไปอีก 1-2 ถ้วย
2.4) ใส่กะทิเมื่อแป้งเริ่มหนืด…และคนต่อไปจนแป้งทั้งหมดละลาย…ทำจนกะทิหมด
2.5) จะได้แป้งละลายไม่เป็นก้อน
2.6) จากนั้นจึงเติมน้ำเชื่อมกะทิลงไป แล้วคนๆๆๆๆ อีก 5-10 นาที
3. เอาซึ้งใส่น้ำประมาณ ¾ ของรังถึง ตั้งไฟใช้ไฟแรง…ตั้งน้ำจนเดือด
4. จากนั้นนำถาดอลูมิเนียมสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือพิมพ์ไปนึ่งในซึ้งน้ำเดือดให้ร้อนจัด ประมาณ 5 นาที (เพื่อป้องกันขนมติดขอบพิมพ์)
5. แบ่งแป้งเป็น 2 ถ้วย โดยถ้วยที่ 1 ผสมกับน้ำใบเตย และถ้วยที่ 2 เป็นน้ำแป้งสีขาว…โดยสีในแป้งให้ผสมอ่อนกว่าสีที่ต้องการ เพราะเวลานึ่งสุก สีของขนมจะเข้มขึ้นอีก
6. หยอดแป้งขนมลงถาดหรือพิมพ์ที่เตียมไว้ ตักแป้งใส่แต่ละครั้งให้สลับสีกัน (ปริมาณเท่ากัน) ใช้เวลานึ่ง 5-7 นาทีต่อชั้น (ให้สังเกตุแป้งที่สุกจะมีลักษณะใสเป็นเงา) เมื่อแป้งสุกแล้วจึงค่อยหยอดชั้นต่อไปเรื่อยๆ จนเต็มถาด…นึ่งจนสุก
· ถ้าใช้พิมพ์ 5ซม. ให้หยอด 3-4 ชั้น แต่ละชั้นใช้แป้งประมาณ ¾ ช้อนโต๊ะ ใช้เวลานึ่ง 5-7 นาทีต่อชั้น
7. เมื่อขนมสุกแล้ว...ให้ปิดฝารังถึงก่อน แล้วยกถาดขนมออก ขนมที่ยกลงจากรังถึงให้วางพักบนตะแกรงพักจนเย็นสนิทซะก่อน…แล้วจึงค่อยแกะขนมออกจากถาด และหั่นแบ่งเป็นขนาดตามต้องการ ให้จุ่มมีดลงในน้ำร้อน แล้วกดลงบนขนมเป็นชิ้นๆ (เพื่อไม่ให้น่าขนมเละ) จัดใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
เคล็ดลับการนึ่งขนมชั้นให้อร่อย
1. การตักแป้งหยอดแต่ละชั้น ให้ตักแป้งใส่สลับสีกัน ส่วนชั้นสุดท้ายควรใส่เป็นสีเข้มครับดูมีสีสันน่ารับประทาน
2. การตักแป้งหยอดชั้นถัดไป จะต้องให้แป้งขนมชั้นล่างสุกซะก่อน…สังเกตุคือจะมีลักษณะใสเป็นเงา เพราะถ้าแป้งชั้นใดชั้นหนึ่งไม่สุก ชั้นต่อๆไปก็จะนึ่งไม่สุกด้วย ใช้เวลานึ่งประมาณ 5-7 นาทีต่อชั้น (ขึ้นอยู่กับปริมาณแป้งที่ใส่…ถ้าปริมาณแป้งมาก, ก็ใช้เวลานึ่งมากด้วย) แล้วจึงใส่แป้งชั้นต่อไป
3. ก่อนจะหยอดส่วนผสมแป้งทุกครั้ง ควรคนส่วนผสมให้เข้ากันก่อน เพราะแป้งมักจะนอนก้น
4. การนึ่งขนมในแต่ละชั้น…ทุกครั้งที่จะปิดฝารังถึง…ให้เอาผ้าสะอาดเช็ดหยดน้ำที่เกาะอยู่ในฝาซึ้งให้แห้งก่อนทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ละอองน้ำที่ฝารังถึงหยดลงบนหน้าขนม
5. ขนมชั้นที่ดี เวลาสุกแล้วจะมีหน้าขนมเรียบ แป้งมีความเหนียวนุ่ม และสามารถลอกเป็นชั้นๆได้ มีรสชาติหอมหวานมันกำลังดี
ขอขอบคุณรูปภาพจาก: pantip.com
Horolive.comเคล็ดลับความอร่อย
แป้งแต่ละชนิดที่เป็นส่วนผสมในขนมชั้นล้วนแต่มีความสำคัญแตกต่างกันไป ดังนี้
· แป้งมัน ทำให้เนื้อขนมเนียน นุ่ม เหนียว หนืด ดูใสเป็นมัน
· แป้งท้าวยายม่อม ทำให้เนื้อขนมเนียน เหนียว แข็ง แต่จะใสน้อยกว่าแป้งมัน
· แป้งข้าวเจ้า ทำให้เนื้อขนมแข็ง และอยู่ตัว
· แป้งถั่ว จะทำให้ขนมอยู่ตัว ไม่เหนียวมากเกินไป
กะทิ เป็นส่วนของเหลวที่จำเป็นมากในขนมชั้นทำให้ขนมทั้งหอมและมัน
· ถ้าใส่มากจะทำให้ขนมเหลว ลอกชั้นได้ยาก
· ถ้ากะทิน้อย ขนมจะแข็งกระด้างไม่น่ารับประทาน
· ใช้กะทิที่เข้มข้นพอดี จะทำให้ขนมเป็นชั้นลอกออกจากกันได้ง่าย ผิวดูเป็นมัน เวลาหยิบไม่ติดมือ
น้ำตาล สิ่งเดียวที่จะให้รสชาติความหวานในขนมชั้น
ถ้าใส่น้ำตาลมากไปขนมจะหวานจัด แฉะ ลอกชั้นได้ยาก ความเหนียวของขนมก็จะน้อยลงด้วย
· ถ้าใส่มากจะทำให้ขนมเหลว ลอกชั้นได้ยาก
· ถ้ากะทิน้อย ขนมจะแข็งกระด้างไม่น่ารับประทาน
· ใช้กะทิที่เข้มข้นพอดี จะทำให้ขนมเป็นชั้นลอกออกจากกันได้ง่าย ผิวดูเป็นมัน เวลาหยิบไม่ติดมือ
น้ำตาล สิ่งเดียวที่จะให้รสชาติความหวานในขนมชั้น
ถ้าใส่น้ำตาลมากไปขนมจะหวานจัด แฉะ ลอกชั้นได้ยาก ความเหนียวของขนมก็จะน้อยลงด้วย
ที่มา:zabwer