เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพร หรือน้ำผลไม้ สามารถทำขายเป็นอาชิพเสริมหรืออาชีพหลักได้
โดยเฉพาะน้ำสมุนไพรนั้น ลงทุนน้อย กำไรงาม วิธีทำก็แสนง่ายไม่ยุ่งยาก
ทำบรรจุขวดขาย
ยิ่งปัจจุบันคนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้นจึงเป็นที่ต้องการของตลาดค่อนข้างมาก
น้ำสมุนไพรนั้นหากทำดีๆ รสชาติอร่อยๆ ขายดีแน่นอน วันนี้เรานำ 12
สูตรน้ำดื่มสมุนไพรมาแนะนำ รับรองอร่อย สดชื่น ติดใจเมื่อได้ลิ้มลอง…..
2. น้ำเสาวรส
น้ำเสาวรสเอาใจคนรักสุขภาพ เชื่อเถอะว่าต้องขายดีแน่นอน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สูตรจาก นิตยสารแม่บ้าน
ส่วนผสม น้ำเสาวรส
• เนื้อเสาวรส 2 กิโลกรัม
• น้ำเปล่า 2 ลิตร
• น้ำตาลทราย 800 กรัม
• เกลือป่นหยาบ 2 ช้อนชา
วิธีทำน้ำเสาวรส
1. ใส่เนื้อเสาวรสและน้ำเปล่าลงในโถปั่นน้ำผลไม้ ปั่นจนละเอียด จากนั้นเทใส่หม้อ
2. ยกขึ้นตั้งไฟ ใส่น้ำตาลทรายและเกลือป่น คนจนส่วนผสมเดือด ยกลงกรองผ่านกระชอน หรือผ้าขาวบาง รอจนอุ่นหรือเย็น บรรจุใส่ขวด พร้อมดื่ม
5. น้ำเก๊กฮวย
น้ำเก๊กฮวยกลิ่นหอมและดื่มง่าย สูตรนี้มีความหอมจากกลิ่นใบเตยด้วย ทำง่าย ๆ รับรองได้กำไรดีทีเดียว
ส่วนผสม น้ำเก๊กฮวย
6. น้ำดอกคำฝอย
น้ำดอกคำฝอยสรรพคุณแจ่มแต่หาดื่มยากเหมือนกันนะคะ ลองทำเป็นน้ำสมุนไพรขวดขายสิรับรองขายดิบขายดี สูตรนี้นอกจากใส่ดอกคำฝอยลงไปต้มกับน้ำแล้วยังใส่ดอกเก๊กฮวยเพิ่มกลิ่นหอมอีกด้วย เพิ่มความหวานจากน้ำเชื่อมอีกนิด ลูกค้าดื่มต้องติดใจแน่นอน
ส่วนผสม น้ำดอกคำฝอย
7. น้ำมะตูม
ใครสนใจอยากได้สูตรน้ำมะตูมเข้ามาจดสูตรได้เลยค่ะ เริ่มจากเอามะตูมแห้งไปย่างไฟจนหอมแล้วค่อยเอาไปต้มกับน้ำเปล่าค่ะ สูตรนี้ใส่น้ำตาลทรายแดงเพิ่มสีสันและรสหวานกลมกล่อม ถ้าพรุ่งนี้เช้าจะต้มน้ำสมุนไพรขวดขายไปซื้อมะตูมแห้งไว้รอเลย
ส่วนผสม น้ำมะตูม
8. น้ำใบบัวบก
น้ำใบบัวบกทั่วไปอาจมีกลิ่นเหม็นเขียว แต่ขอบอกว่าถ้าใครได้ทำน้ำใบบัวบกสูตรนี้รับรองหอมอร่อยแน่นอน เพราะใส่ใบเตยลงไปเพิ่มความหอม และได้ความหวานจากน้ำเชื่อม ใครได้ดื่มต้องติดใจจ้า
ส่วนผสม น้ำใบบัวบก
9. น้ำฟักข้าว
ปิดท้ายกันด้วยสูตรน้ำฟักข้าวสีส้มสรรพคุณเลอค่า ที่หาดื่มยากนัก ใครสนใจทำเป็นน้ำสมุนไพรขวดขายต้องได้รับการตอบรับดีเกินคาดแน่นอน
ส่วนผสม น้ำฟักข้าว
วิธีทำน้ำฟักข้าว
10. น้ำอัญชันมะนาว
ดอกอัญชันนอกจากเอาไปทำเป็นสีใส่ขนมไทยได้แล้วยังเอามาทำเครื่องดื่มน้ำอัญชันมะนาว รสชาติเปรี้ยวหวานชื่นใจได้อีกด้วย ใครสนใจไปเด็ดดอกอัญชันหน้าบ้านรอไว้เลย แค่นี้ก็พร้อมต้มน้ำสมุนไพรขวดขายกันแล้ว
11. น้ำอัญชัญใบเตย
ส่วนผสม
12. น้ำตะไคร้ใบเตย
น้ำตะไคร้ใบเตย นั้นมีสรรพคุณช่วยในการลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงธาตุไฟ ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยบำรุงหัวใจ รสเย็นสบาย ให้กลิ่นหอมสดชื่น
ส่วนผสม
Credit: chaoprayanews.com
www.msn.com
1. น้ำกระเจี๊ยบพุทราจีน
น้ำกระเจี๊ยบบรรจุขวดทั่วไปดื่มแล้วชื่นใจ แต่ถ้าเพิ่มพุทราจีนลงไปหน่อยจะทำให้มีความหวานหอมกลมกล่อมและมีประโยชน์มากขึ้น
ส่วนผสม น้ำกระเจี๊ยบ
น้ำกระเจี๊ยบบรรจุขวดทั่วไปดื่มแล้วชื่นใจ แต่ถ้าเพิ่มพุทราจีนลงไปหน่อยจะทำให้มีความหวานหอมกลมกล่อมและมีประโยชน์มากขึ้น
ส่วนผสม น้ำกระเจี๊ยบ
- ดอกกระเจี๊ยบแดงแห้ง 2 กำมือ
- พุทราจีน 2 กำมือ
- น้ำ 3 ลิตร
- เกลือป่น 2 ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
- ล้างดอกกระเจี๊ยบแดงแห้งและพุทราจีนในน้ำสะอาด เอาเศษฝุ่นออก (อย่าแช่น้ำนานเพราะจะทำให้เสียรสชาติและคุณค่าทางอาหาร)
- ต้มน้ำจนเมื่อน้ำเดือดจัดแล้ว จึงใส่กระเจี๊ยบกับพุทราจีนลงไปต้ม ปิดฝา แต่ยังคงไฟร้อนไว้ประมาณ 5 นาที จากนั้นหรี่ไฟลงให้ร้อนปานกลาง ต้มทิ้งไว้อีก 15 นาที โดยปิดฝาไว้ตลอดเวลา (เคี่ยวจนน้ำเริ่มเปลี่ยนสี)
- เสร็จแล้ว ค่อย ๆ เทน้ำตาลทรายและเกลือป่นลงไป คนผสมให้ละลาย ในปริมาณที่ชิมแล้วออกหวานเล็กน้อยหรือรสตสมชอบ และไม่มีรสขื่น เท่านี้ก็ใช้ได้
- กรองน้ำกระเจี๊ยบพุทราจีนด้วยผ้าขาวบางใส่ลงในหม้อสเตนเลสอีกใบ เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย พักให้น้ำสมุนไพรเย็นตัวพอที่จะกรอกในขวดพลาสติกขนาด 200 ซีซี ได้ (ที่จำหน่ายขั้นต่ำขวดละ 10 บาท)
2. น้ำเสาวรส
น้ำเสาวรสเอาใจคนรักสุขภาพ เชื่อเถอะว่าต้องขายดีแน่นอน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สูตรจาก นิตยสารแม่บ้าน
ส่วนผสม น้ำเสาวรส
• เนื้อเสาวรส 2 กิโลกรัม
• น้ำเปล่า 2 ลิตร
• น้ำตาลทราย 800 กรัม
• เกลือป่นหยาบ 2 ช้อนชา
วิธีทำน้ำเสาวรส
1. ใส่เนื้อเสาวรสและน้ำเปล่าลงในโถปั่นน้ำผลไม้ ปั่นจนละเอียด จากนั้นเทใส่หม้อ
2. ยกขึ้นตั้งไฟ ใส่น้ำตาลทรายและเกลือป่น คนจนส่วนผสมเดือด ยกลงกรองผ่านกระชอน หรือผ้าขาวบาง รอจนอุ่นหรือเย็น บรรจุใส่ขวด พร้อมดื่ม
3. น้ำหล่อฮั้งก้วย
น้ำหล่อฮั้งก้วย น้ำสมุนไพรขวดสุดฮิตประจำหน้าร้อนต้อง สูตรนี้ใส่ดอกเก๊กฮวยเพิ่มความหอมด้วย วิธีทำไม่ยาก เตรียมขวดให้พร้อม ต้มเสร็จรอให้เย็นแล้วบรรจุขวด
ส่วนผสม น้ำหล่อฮั้งก้วย
4. น้ำจับเลี้ยง
น้ำจับเลี้ยงดื่มเมื่อไรสดชื่นทุกครั้ง ยิ่งอากาศร้อนแบบนี้เป็นจังหวะที่ดีอย่างยิ่งเลยค่ะ ทำใส่ขวดขายซะเลย เงินจงมา…
ส่วนผสม น้ำจับเลี้ยง
น้ำหล่อฮั้งก้วย น้ำสมุนไพรขวดสุดฮิตประจำหน้าร้อนต้อง สูตรนี้ใส่ดอกเก๊กฮวยเพิ่มความหอมด้วย วิธีทำไม่ยาก เตรียมขวดให้พร้อม ต้มเสร็จรอให้เย็นแล้วบรรจุขวด
ส่วนผสม น้ำหล่อฮั้งก้วย
- หล่อฮั้งก้วย 4-5 ผล
- น้ำเปล่า 3 ลิตร
- ดอกเก๊กฮวยตากแห้ง 2 กำมือ (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)
- น้ำตาลทราย (ตามชอบ)
- ล้างผลหล่อฮั้งก้วยให้สะอาดแล้วบิให้แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อแล้วเทน้ำเปล่าลงไปแช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
- นำหม้อที่แช่หล่อฮั้งก้วยขึ้นตั้งไฟอ่อน ใส่ดอกเก๊กฮวยตากแห้งลงไป เคี่ยวไปเรื่อย ๆ ประมาณ 30 นาที จากนั้นเติมน้ำตาลทรายลงไป (ปริมาณตามชอบ) ชิมรส พอครบเวลาปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็นเล็กน้อย
- นำน้ำหล่อฮั้งก้วยไปกรองผ่านตะแกรง รอจนอุ่นหรือเย็น บรรจุใส่ขวด พร้อมดื่ม
4. น้ำจับเลี้ยง
น้ำจับเลี้ยงดื่มเมื่อไรสดชื่นทุกครั้ง ยิ่งอากาศร้อนแบบนี้เป็นจังหวะที่ดีอย่างยิ่งเลยค่ะ ทำใส่ขวดขายซะเลย เงินจงมา…
ส่วนผสม น้ำจับเลี้ยง
- ชุดจับเลี้ยงสำเร็จรูป (50-70 กรัม) จำนวน 1 ห่อ
- น้ำ 2 ลิตร
- น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลทรายแดง (ตามชอบ)
- ใส่เครื่องจับเลี้ยงลงในหม้อ ตามด้วยน้ำ ต้มไฟอ่อนจนเดือด และน้ำเปลี่ยนสี ประมาณ 20 นาที ยกลงจากเตา กรองด้วยผ้าขาวบาง เอาเฉพาะน้ำ เทกลับใส่หม้อ นำขึ้นตั้งไฟ
- ใส่น้ำตาลทราย คนผสมให้เข้ากัน ต้มจนเดือด ยกลงจากเตา รอจนอุ่นหรือเย็น บรรจุใส่ขวด พร้อมดื่ม
5. น้ำเก๊กฮวย
น้ำเก๊กฮวยกลิ่นหอมและดื่มง่าย สูตรนี้มีความหอมจากกลิ่นใบเตยด้วย ทำง่าย ๆ รับรองได้กำไรดีทีเดียว
ส่วนผสม น้ำเก๊กฮวย
- • ดอกเก๊กฮวย 1 กำมือ
- • น้ำ 2 ลิตร
- • น้ำตาลทราย 500 กรัม
- • ใบเตย 10 ใบ
- ต้มน้ำ ใส่ใบเตยลงไป รอจนเดือดกับใบเตยจนเดือด ใส่ดอกเก๊กฮวยลงไปเคี่ยวสักพัก
- ใส่น้ำตาลทรายลงไปคนให้ละลาย รอจนเดือดอีกครั้ง ปิดไฟ พักไว้จนเย็น
- พอน้ำเก๊กฮวยเริ่มอุ่น ยกลงกรองกับผ้าขาวบาง (*** ระหว่างแช่ดอกเก็กฮวยห้ามคนเด็ดขาด จะทำให้ขม***)
- บรรจุใส่ขวด พร้อมดื่ม
6. น้ำดอกคำฝอย
น้ำดอกคำฝอยสรรพคุณแจ่มแต่หาดื่มยากเหมือนกันนะคะ ลองทำเป็นน้ำสมุนไพรขวดขายสิรับรองขายดิบขายดี สูตรนี้นอกจากใส่ดอกคำฝอยลงไปต้มกับน้ำแล้วยังใส่ดอกเก๊กฮวยเพิ่มกลิ่นหอมอีกด้วย เพิ่มความหวานจากน้ำเชื่อมอีกนิด ลูกค้าดื่มต้องติดใจแน่นอน
ส่วนผสม น้ำดอกคำฝอย
- น้ำ 2 ลิตร
- ดอกคำฝอยแห้ง 4 ช้อนโต๊ะ
- ดอกเก๊กฮวยแห้ง 1 กำมือ
- น้ำตาลทราย (ตามชอบ)
- ใส่น้ำ ดอกคำฝอย และดอกเก๊กฮวยลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟแรงต้มจนเดือดและน้ำเริ่มเปลี่ยนสี
- ลดไฟอ่อนลง เติมน้ำตาลทรายลงไปคนผสมให้ละลาย ชิมรสตามชอบ ต้มต่ออีกสักครู่
- ยกลงจากเตา กรองเอากากออก รอจนอุ่น ตักใส่ขวด พร้อมดื่ม
7. น้ำมะตูม
ใครสนใจอยากได้สูตรน้ำมะตูมเข้ามาจดสูตรได้เลยค่ะ เริ่มจากเอามะตูมแห้งไปย่างไฟจนหอมแล้วค่อยเอาไปต้มกับน้ำเปล่าค่ะ สูตรนี้ใส่น้ำตาลทรายแดงเพิ่มสีสันและรสหวานกลมกล่อม ถ้าพรุ่งนี้เช้าจะต้มน้ำสมุนไพรขวดขายไปซื้อมะตูมแห้งไว้รอเลย
ส่วนผสม น้ำมะตูม
- มะตูมแห้ง 10 ชิ้น
- น้ำ 2 ลิตร
- น้ำตาลทรายแดง 100 กรัม
- นำมะตูมแห้งไปย่างไฟ หรือคั่วในกระทะจนมีกลิ่นหอม เตรียมไว้
- ใส่น้ำลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟปานกลางใส่มะตูมที่ย่างไฟลงไปต้มจนเดือดและน้ำเปลี่ยนสี หรือนานประมาณ 30 นาที
- จากนั้นใส่น้ำตาลทรายแดงลงไปคนผสมจนน้ำตาลละลายหมด ชิมรส
- ยกลงจากเตา กรองเอากากออก พักทิ้งไว้จนเย็น บรรจุใส่ขวด พร้อมดื่ม
8. น้ำใบบัวบก
น้ำใบบัวบกทั่วไปอาจมีกลิ่นเหม็นเขียว แต่ขอบอกว่าถ้าใครได้ทำน้ำใบบัวบกสูตรนี้รับรองหอมอร่อยแน่นอน เพราะใส่ใบเตยลงไปเพิ่มความหอม และได้ความหวานจากน้ำเชื่อม ใครได้ดื่มต้องติดใจจ้า
ส่วนผสม น้ำใบบัวบก
- ใบบัวบก 1 กิโลกรัม ถึง 1.5 กิโลกรัม
- น้ำ 12 ถ้วย
- ใบเตย 6 ใบ
- น้ำเชื่อม 6 ถ้วย
- ล้างใบบัวบกให้สะอาด สะเด็ดน้ำ จากนั้นหั่นเป็นท่อนสั้น ๆ เตรียมไว้
- ต้มน้ำกับใบเตยจนเดือด พักทิ้งไว้จนน้ำอุ่น
- แบ่งใบบัวบกเป็น 6 ส่วน ทยอยใส่ลงในเครื่องปั่น ตามด้วยน้ำต้มสุกที่อุ่นแล้ว 1 ถ้วยลงปั่นจนละเอียดเป็นน้ำ ทำซ้ำจนหมด
- ยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง เอาแต่เฉพาะน้ำ
- ใส่น้ำเชื่อมลงในน้ำใบบัวบก คนผสมให้เข้ากัน พักทิ้งไว้จนเย็น บรรจุใส่ขวด พร้อมดื่ม
9. น้ำฟักข้าว
ปิดท้ายกันด้วยสูตรน้ำฟักข้าวสีส้มสรรพคุณเลอค่า ที่หาดื่มยากนัก ใครสนใจทำเป็นน้ำสมุนไพรขวดขายต้องได้รับการตอบรับดีเกินคาดแน่นอน
ส่วนผสม น้ำฟักข้าว
- ฟักข้าว 2 ลูก
- น้ำต้มสุก 6 ถ้วย
- เกลือป่น เล็กน้อย
- น้ำเชื่อม ตามชอบ
วิธีทำน้ำฟักข้าว
- ผ่าครึ่งลูกฟักข้าว คว้านเอาเม็ดออก จากนั้นปอกเปลือกออกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- ใส่เนื้อฟักข้าวลงในเครื่องปั่น ตามด้วยน้ำต้มสุก ปั่นจนละเอียดเข้ากันดี เติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นตามชอบ คนผสมให้เข้ากัน พักทิ้งไว้จนเย็น บรรจุใส่ขวด พร้อมดื่ม
10. น้ำอัญชันมะนาว
ดอกอัญชันนอกจากเอาไปทำเป็นสีใส่ขนมไทยได้แล้วยังเอามาทำเครื่องดื่มน้ำอัญชันมะนาว รสชาติเปรี้ยวหวานชื่นใจได้อีกด้วย ใครสนใจไปเด็ดดอกอัญชันหน้าบ้านรอไว้เลย แค่นี้ก็พร้อมต้มน้ำสมุนไพรขวดขายกันแล้ว
ส่วนผสม น้ำอัญชันมะนาว
- น้ำ 2 ถ้วยตวง
- ดอกอัญชันสด 100 กรัม
- น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ
- น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะนาว (ตามชอบ)
- ใส่น้ำลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟต้มจนเดือด ใส่ดอกอัญชันลงต้ม ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที ยกลงจากเตา ยกลงกรองดอกอัญชันออก เอาเฉพาะน้ำ เตรียมไว้
- ผสมน้ำดอกอัญชันกับน้ำเชื่อม น้ำผึ้ง และน้ำมะนาว คนผสมให้เข้ากัน พักทิ้งไว้จนเย็น บรรจุใส่ขวด พร้อมดื่ม
11. น้ำอัญชัญใบเตย
ส่วนผสม
- ดอกอัญชัน 1 กำมือ
- ใบเตย 3-4 ต้น
- น้ำมะนาว
- เกลือป่นเสริมไอโอดีน
- นำดอกอัญชันมาเด็ดขั้วออกและล้างให้สะอาด เตรียมไว้ และเตรียมใบเตย 3-4 ต้น ล้างให้สะอาดและหั่นครึ่ง เตรียมไว้
- ต้มน้ำสะอาดในหม้อสเตนเลสขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.5 นิ้ว และสูง 9 นิ้ว ต้มจนน้ำเดือดจัด เมื่อน้ำเดือดจัดแล้วใส่อัญชัน และใบเตยลงไป ปิดฝา แต่ยังคงไฟร้อนไว้ประมาณ 5 นาที จากนั้นหรี่ไฟลงให้ร้อนปานกลาง ปิดฝาไว้ตลอดเวลา ต้มทิ้งไว้อีก 15 นาที
- เสร็จแล้วบีบมะนาวและเกลือลงไปเล็กน้อย เพื่อให้สีจากดอกอัญชันออกมามาก ๆ แล้วค่อย ๆ เทน้ำตาลทรายใส่ลงไป ปริมาณที่ชิมแล้วออกหวานเล็กน้อย และไม่มีรสเฝื่อน
- กรองน้ำด้วยผ้าขาวบางใส่น้ำอัญชันลงในหม้อสเตนเลส อีกใบ เท่านี้ก็ใช้ได้ พักให้น้ำสมุนไพรเย็นตัวพอที่จะกรอกในขวดพลาสติกขนาด 200 ซีซี ได้
12. น้ำตะไคร้ใบเตย
น้ำตะไคร้ใบเตย นั้นมีสรรพคุณช่วยในการลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงธาตุไฟ ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยบำรุงหัวใจ รสเย็นสบาย ให้กลิ่นหอมสดชื่น
ส่วนผสม
- ตะไคร้สด 6-7 ต้น
- ใบเตย 3-4 ต้น
- น้ำตาลทรายแดง
- นำตะไคร้สดมาตัดใบออก ล้างให้สะอาด แล้วทุบด้านหัวให้พอแตก เตรียมไว้ และเตรียมใบเตยล้างให้สะอาด แล้วหั่นครึ่ง เตรียมไว้
- ต้มน้ำสะอาดในหม้อสเตนเลสขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.5 นิ้ว และสูง 9 นิ้ว ต้มจนน้ำเดือดจัด เมื่อน้ำเดือดจัดแล้วใส่ตะไคร้ และใบเตยลงไป ปิดฝา แต่ยังคงไฟร้อนไว้ประมาณ 5 นาที จากนั้นหรี่ไฟลงให้ร้อนปานกลาง ต้มทิ้งไว้อีก 15 นาที…โดยปิดฝาตลอดเวลา
- เสร็จแล้ว ค่อย ๆ เทน้ำตาลทรายใส่ลงไปในปริมาณที่ชิมแล้วออกหวานเล็กน้อย และไม่มีรสเฝื่อน
- กรองน้ำสมุนไพรด้วยผ้าขาวบางลงในหม้อสเตนเลสอีกใบ แล้วพักให้เย็นตัวพอที่จะกรอกในขวดพลาสติกขนาด 200 ซีซี เท่านี้ก็เสร็จแล้ว
- การเลือกสมุนไพร การเลือกสมุนไพรที่จะนำมาทำน้ำสมุนไพร ต้องคำนึงถึงสมุนไพรที่สด ถ้าเป็นสมุนไพรที่ต้องทำให้แห้ง ควรเลือกสมุนไพรที่ใหม่สะอาด ดูลักษณะ สี กลิ่น ดูว่ามีเชื้อราหรือไม่ สมุนไพรที่สดใหม่ช่วยให้ได้คุณค่าทางโภชนาการสูง สีสันน่ารับประทาน
- ความสะอาด ทั้งสมุนไพรและภาชนะที่ใช้ต้องสะอาด ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ ถ้าไม่สะอาด อาจทำให้ผู้ดื่มน้ำสมุนไพร ท้องเสีย และยังทำให้สมุนไพรเก็บไม่ได้นานเท่าที่ควร
- ภาชนะที่ใช้ ภาชนะที่ต้มควรจะเป็นหม้อเคลือบ ไม่ควรใช้หม้ออลูมิเนียม เพราะอาจทำให้กรดที่อยู่ในสมุนไพรกัดภาชนะ ถ้าเป็นหม้อหรือกะทะทองเหลืองจะทำให้รสของน้ำสมุนไพรเปลี่ยนไป นอกจากนี้การที่เราดื่มน้ำสมุนไพรที่มีสารโลหะหนักผสมอยู่อาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ สำหรับภาชนะที่บรรจุควรจะเป็นขวดแก้ว จะสะดวกในการนึ่ง และน้ำสมุนไพรจะไม่ทำปฏิกิริยากับขวดแก้ว ภาชนะที่เป็นแก้วยังดูใสสะอาดน่าดื่มยิ่งขึ้น
- เทคนิคของการที่ทำให้น้ำสมุนไพรอยู่ได้นานถึง 7 วัน โดยไม่ต้องใส่สารกันบูด คือระหว่างที่รอให้น้ำสมุนไพรเย็นตัวนั้น ให้นำหม้อน้ำสมุนไพรนี้ ใส่ลงในกะละมังที่มีน้ำเย็นอยู่ วิธีนี้จะทำให้น้ำสมุนไพรอยู่ได้นานขึ้น
Credit: chaoprayanews.com
www.msn.com