วิธีทำ
น้ำสำหรับต้มไก่
เวลาเราต้องการทำน้ำซุปหรือน้ำสต๊อก เรามักจะเอาโครงไก่หรือเนื้อไก่ลงไปต้มเพื่อให้น้ำซุปมีรสชาติดี น้ำจะมีรสหวานจากไก่สด พอต้มเสร็จ น้ำซุปที่ได้ก็จะอร่อย แต่เนื้อไก่จะจืดชืด เพราะความหวานของเนื้อไก่ละลายไปอยู่กับน้ำซุปหมดแล้ว จนต้องพึ่งน้ำจิ้มรสจัดมาเป็นตัวทำให้อร่อยแทน ดังนั้นแทนที่เราจะให้ความหวานจากเนื้อไก่ถูกปล่อยออกมา เราก็จะเปลี่ยนเป็นทำให้รสชาติน้ำซุปซึมเข้าไปที่เนื้อไก่แทน
ส่วนผสม น้ำต้มไก่
ผักกาดขาว หรือผักหางหงส์สด 1 หัว (ต้องเลือกที่สด ๆ เพื่อให้หวาน)
กระเทียม 3–4 หัว (ประมาณ 30 กลีบ)
รากผักชี 5–6 ราก
ขิงแก่หั่นเป็นแว่นบาง 5–6 แว่น
ขิงทุบ เล็กน้อย
พริกไทยขาวทุบหยาบ 20–30 เม็ด
เกลือสมุทร 1-2 ช้อนโต๊ะ (ได้ดอกเกลือยิ่งดี เพื่อให้มีรสเค็มขึ้นมาบ้าง ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ)
น้ำตาลกรวด 1/2 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว 2–3 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 1/2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงในหม้อ (ควรใส่น้ำเผื่อไว้หน่อยกันน้ำแห้งเกินไป) นำขึ้นตั้งไฟแรง (ไม่ต้องปิดฝา) ต้มให้เดือดนานอย่างน้อย 30 นาที
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
2. พอครบเวลาใส่ไก่ลงไปจนหมด (ถ้าหม้อใบเล็กเกินจะเอาผักกาดขาวออกให้หมดก่อนก็ได้) พอใส่ไก่ชิ้นสุดท้ายลงไป ให้ลดไฟอ่อนลง จากนั้นต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเดือด หมั่นช้อนฟองอากาศทิ้ง
หมายเหตุ : ควรจับเวลาให้ดี ถ้าต้มนานไปไก่จะสุกเกินไม่อร่อย ถ้าไก่ดิบไปก็กินไม่ได้ (คือกระดูกมีเลือด เนื้อส่วนที่ติดกระดูกเหนียวเลาะไม่ออก) ปกติจะใช้เวลาในการต้มประมาณ 1 ชั่วโมงนับจากใส่ไก่ลงไป หมั่นตักฟองทิ้งไปบ้าง จากนั้นก็ปล่อยให้ไฟรุม ๆ ไปเรื่อย ๆ
น้ำจิ้มข้าวมันไก่
ส่วนผสม น้ำจิ้มข้าวมันไก่
เต้าเจี้ยว 6 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
ขิงแก่สับละเอียด 3 ช้อนโต๊ะ
ขิงแก่ ตำแหลก 1 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูสดเขียว-แดงซอย 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำส้มพริกดองแบบปั่น 2 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วหวานสูตร 1 1 ช้อนโต๊ะ
มะนาว 1 ซีก
วิธีทำ
ใส่เต้าเจี้ยวลงในถ้วย (ควรชิมก่อนด้วยว่า เต้าเจี้ยวที่เราซื้อมามีความเค็มมากน้อยแค่ไหน บางยี่ห้อก็เค็มจัด บางยี่ห้อก็มีติดหวานเล็ก ๆ ปริมาณส่วนผสมมาก-น้อย ลดลงตามส่วนนะครับ)
ใส่น้ำตาลทราย
ใส่ขิงแก่ตำแหลกและขิงแก่สับละเอียด (ขิงแก่ตำแหลกนี่สำคัญนะครับ ตำให้แหลกเลย นำน้ำขิงในครกใส่ไปด้วย เวลาผสมกันเป็นน้ำจิ้มแล้วจะได้มีรสและกลิ่นขิงแทรกอยู่อย่างทั่วถึง)
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ใส่พริกขี้หนูเขียว-แดงซอย (ถ้าชอบเผ็ดก็เอาส่วนหนึ่งไปปั่นหรือตำให้แหลกก่อนเลยแล้วค่อยเอามาใส่)
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ใส่น้ำส้มพริกดอง (ที่เหลือมาจากการกินข้าวขาหมู เย็นตาโฟ หรือก๋วยเตี๋ยวเรือก็ได้) บีบน้ำมะนาวใส่ลงไป (เพื่อเอากลิ่น)
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ซีอิ๊วหวาน (ถ้าไม่ต้องการให้สีเข้มมากก็ลดเหลือ 1/2 ช้อนโต๊ะ แนะนำให้ใช้สูตร 1 นะครับ พวกง่วนเชียงฝาสีครีมก็ดี ไม่ควรใช้น้ำตาลโมลาส หรือซีอิ๊วหวานสูตร 5 ได้สีเข้มก็จริง แต่เดี๋ยวจะทำให้เสียรส เสียกลิ่น)
คนผสมให้ละลายเข้ากัน ชิมรสตามชอบ (ไม่ต้องใส่น้ำซุปลงไปให้เจือจาง แต่ถ้าเห็นว่าข้นมากเพราะใส่ขิงมากไปก็เติมน้ำซุปลงไปสัก 1 ช้อนโต๊ะ)
หมายเหตุ : ชิมให้ถูกปาก ถ้าอ่อนเค็มให้เพิ่มเต้าเจี้ยว ถ้าอ่อนหวานให้เพิ่มน้ำตาลทราย (ระวังนะครับ ถ้าคน ๆ น้ำตาลยังไม่ละลายดี ชิมแล้วจะยังไม่ออกหวาน พอละลายแล้วเดี๋ยวหวานเกินไปนะ) ถ้าอ่อนเปรี้ยวให้เพิ่มน้ำส้มพริกปั่นลงไป (ไม่เพิ่มมะนาวนะครับ) ส่วนชอบเผ็ดมากน้อยก็ปรับสัดส่วนของพริกขี้หนูเสียแต่ทีแรกเลย
ส่วนผสม ข้าวมัน
ข้าวหอมเก่า (ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ข้าวหอมเก่าก็จะดี ที่ไม่ใช่ข้าวหอมใหม่ต้นฤดู หรือข้าวนาปีเสาไห้ อะไรประมาณนี้)
น้ำมันพืช
กระเทียม
ขิงฝานแว่น
เกลือสมุทร 1/2-1ช้อนชา
น้ำตาลกรวด 1 ช้อนชา
น้ำซุป 1 ทัพพี
วิธีทำ
ซาวข้าวให้เรียบร้อย เทน้ำออกให้แห้ง พักไว้ (อย่าซาวข้าวทิ้งไว้ล่วงหน้านานนัก ถึงเวลาจะหุงแล้วค่อยซาวข้าว และควรเตรียมการหุงเมื่อไก่ต้มสุกพอดี เพราะต้องใช้น้ำต้มไก่มาหุงข้าว)
ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันพืชลงไปเล็กน้อย ใส่กระเทียมสับและขิงฝานแว่นลงไปเจียวพอหอม
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ใส่ข้าวที่ซาวแล้วลงไปผัด
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ช้อนน้ำมันไก่จากหม้อต้มไก่ลงไปผัดกับข้าว (เท่าที่จะช้อนออกมาได้ มีน้ำซุปติดมาด้วยก็ไม่เป็นไร ใช้ตะแกรงมุ้งสแตนเลสแบบนี้ ช้อนน้ำมันออกมาได้ดีทีเดียว)
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ใส่เกลือสมุทร น้ำตาลกรวด และน้ำซุป แล้วผัดให้เข้ากัน ใช้ไฟกลาง ผัดให้เมล็ดข้าวจากเดิมที่ใส ๆ เริ่มเปลี่ยนเป็นสีขุ่นเหมือนเมล็ดข้าวเหนียว และข้าวเริ่มแห้งติดกระทะ ปิดไฟ ยกลงจากเตา นำไปใส่หม้อหุงข้าว
ตักน้ำต้มไก่ใส่ลงไปในหม้อหุงข้าว ใส่น้ำให้น้อยกว่าปกติที่เคยหุงเล็กน้อย กดปุ่มหุงข้าว เมื่อข้าวสุกแล้ว อุ่นทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 20 นาที
เปิดฝาหม้อหุงข้าวแล้วใช้ช้อนคุ้ยข้าวเบา ๆ เพื่อให้น้ำมันที่ตกอยู่ก้นหม้อหุงข้าวขึ้นมาคลุกกับข้าวให้ทั่ว (หุงครั้งแรกถ้าเค็มหรือจืดไป ครั้งต่อไปก็ปรับสัดส่วนเอานะครับ เหตุเพราะรสชาติของน้ำต้มไก่ที่เราเอามาหุงข้าว รสจัดมากน้อยแค่ไหนนั่นเอง)
เตรียมช็อกไก่ด้วยน้ำเย็น โดยใส่น้ำแข็งก้อนลงในภาชนะ แล้วเติมน้ำลงไป จากนั้นใส่ไก่ที่ต้มไว้ลงไปในอ่างน้ำเย็น (วิธีคือ เมื่อต้มเสร็จให้เอาขึ้นจากหม้อแล้วแช่ในน้ำเย็นทันที) แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5–10 นาที
9. ตักขึ้นสะเด็ดน้ำแล้วเอาน้ำมันพืชมาทาหนังไก่ไว้ให้ทั่ว ๆ (จะใช้แปรงหรือมือก็ได้ แล้วแต่สะดวก)
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
10. พักทิ้งไว้ประมาณ 3–4 ชั่วโมง (ผิวไก่ก็ยังคงมีสีขาวอมเหลืองสวย เต่งตึงอยู่ตลอดเวลา ไม่แดง ช้ำ กระดำกระด่าง หรือมีกลิ่นหืนแต่ประการใด)
หมายเหตุ : การช็อกไก่ด้วยน้ำเย็น จะทำให้เนื้อไก่นุ่มหนึบ ไม่เละ หนังกรุบ เด้งดึ๋ง และรสสัมผัสเหมือนไก่บ้าน
จากนั้นสับเป็นชิ้น ๆ จัดเสิร์ฟ
วิธีทำน้ำซุปสำหรับรับประทานคู่
น้ำซุปต้มไก่จะมีรสจัดเกินไปกว่าที่จะนำมาเป็นน้ำซุปที่กินกับข้าวมันไก่ได้ทันที ต้องเติมน้ำลงไปให้รสอ่อนลงแล้วนำไปต้มให้เดือดอีกครั้ง ถึงเอามารับประทานคู่กับข้าวมันไก่ได้ (ถ้าน้ำซุปต้มไก่รสอ่อนพอดี ก็นำมาทานเป็นน้ำซุปได้เลย แต่ก็แปลว่าไก่เรารสจะจืดไปนิดนะครับ)
เคล็ดลับ : เวลารับประทานไก่ไม่หมดให้เก็บไว้ในตู้เย็นได้ พอจะเอามารับประทาน ก็ควรเอาออกมาไว้นอกตู้เย็นสัก 30 นาที เพื่อให้ความเย็นคลายไปตามอุณหภูมิห้อง แล้วรับประทานได้เลย ก็จะยังคงอร่อยเหมือนเพิ่งทำเสร็จ ไม่ต้องเอาไปอุ่นโดยวิธีใด ๆ ไม่ว่านึ่งหรือไมโครเวฟ มิเช่นนั้นความอร่อยของเนื้อไก่จะหายไปทันที และกลิ่นหนังไก่ก็จะไม่หอมเหมือนเดิม
ขอบคุณที่มา: หนูมา กับคำว่าใช่ ทาง facebook.
น้ำสำหรับต้มไก่
เวลาเราต้องการทำน้ำซุปหรือน้ำสต๊อก เรามักจะเอาโครงไก่หรือเนื้อไก่ลงไปต้มเพื่อให้น้ำซุปมีรสชาติดี น้ำจะมีรสหวานจากไก่สด พอต้มเสร็จ น้ำซุปที่ได้ก็จะอร่อย แต่เนื้อไก่จะจืดชืด เพราะความหวานของเนื้อไก่ละลายไปอยู่กับน้ำซุปหมดแล้ว จนต้องพึ่งน้ำจิ้มรสจัดมาเป็นตัวทำให้อร่อยแทน ดังนั้นแทนที่เราจะให้ความหวานจากเนื้อไก่ถูกปล่อยออกมา เราก็จะเปลี่ยนเป็นทำให้รสชาติน้ำซุปซึมเข้าไปที่เนื้อไก่แทน
ส่วนผสม น้ำต้มไก่
ผักกาดขาว หรือผักหางหงส์สด 1 หัว (ต้องเลือกที่สด ๆ เพื่อให้หวาน)
กระเทียม 3–4 หัว (ประมาณ 30 กลีบ)
รากผักชี 5–6 ราก
ขิงแก่หั่นเป็นแว่นบาง 5–6 แว่น
ขิงทุบ เล็กน้อย
พริกไทยขาวทุบหยาบ 20–30 เม็ด
เกลือสมุทร 1-2 ช้อนโต๊ะ (ได้ดอกเกลือยิ่งดี เพื่อให้มีรสเค็มขึ้นมาบ้าง ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ)
น้ำตาลกรวด 1/2 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว 2–3 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 1/2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงในหม้อ (ควรใส่น้ำเผื่อไว้หน่อยกันน้ำแห้งเกินไป) นำขึ้นตั้งไฟแรง (ไม่ต้องปิดฝา) ต้มให้เดือดนานอย่างน้อย 30 นาที
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
2. พอครบเวลาใส่ไก่ลงไปจนหมด (ถ้าหม้อใบเล็กเกินจะเอาผักกาดขาวออกให้หมดก่อนก็ได้) พอใส่ไก่ชิ้นสุดท้ายลงไป ให้ลดไฟอ่อนลง จากนั้นต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเดือด หมั่นช้อนฟองอากาศทิ้ง
หมายเหตุ : ควรจับเวลาให้ดี ถ้าต้มนานไปไก่จะสุกเกินไม่อร่อย ถ้าไก่ดิบไปก็กินไม่ได้ (คือกระดูกมีเลือด เนื้อส่วนที่ติดกระดูกเหนียวเลาะไม่ออก) ปกติจะใช้เวลาในการต้มประมาณ 1 ชั่วโมงนับจากใส่ไก่ลงไป หมั่นตักฟองทิ้งไปบ้าง จากนั้นก็ปล่อยให้ไฟรุม ๆ ไปเรื่อย ๆ
น้ำจิ้มข้าวมันไก่
ส่วนผสม น้ำจิ้มข้าวมันไก่
เต้าเจี้ยว 6 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
ขิงแก่สับละเอียด 3 ช้อนโต๊ะ
ขิงแก่ ตำแหลก 1 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูสดเขียว-แดงซอย 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำส้มพริกดองแบบปั่น 2 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วหวานสูตร 1 1 ช้อนโต๊ะ
มะนาว 1 ซีก
วิธีทำ
ใส่เต้าเจี้ยวลงในถ้วย (ควรชิมก่อนด้วยว่า เต้าเจี้ยวที่เราซื้อมามีความเค็มมากน้อยแค่ไหน บางยี่ห้อก็เค็มจัด บางยี่ห้อก็มีติดหวานเล็ก ๆ ปริมาณส่วนผสมมาก-น้อย ลดลงตามส่วนนะครับ)
ใส่น้ำตาลทราย
ใส่ขิงแก่ตำแหลกและขิงแก่สับละเอียด (ขิงแก่ตำแหลกนี่สำคัญนะครับ ตำให้แหลกเลย นำน้ำขิงในครกใส่ไปด้วย เวลาผสมกันเป็นน้ำจิ้มแล้วจะได้มีรสและกลิ่นขิงแทรกอยู่อย่างทั่วถึง)
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ใส่พริกขี้หนูเขียว-แดงซอย (ถ้าชอบเผ็ดก็เอาส่วนหนึ่งไปปั่นหรือตำให้แหลกก่อนเลยแล้วค่อยเอามาใส่)
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ใส่น้ำส้มพริกดอง (ที่เหลือมาจากการกินข้าวขาหมู เย็นตาโฟ หรือก๋วยเตี๋ยวเรือก็ได้) บีบน้ำมะนาวใส่ลงไป (เพื่อเอากลิ่น)
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ซีอิ๊วหวาน (ถ้าไม่ต้องการให้สีเข้มมากก็ลดเหลือ 1/2 ช้อนโต๊ะ แนะนำให้ใช้สูตร 1 นะครับ พวกง่วนเชียงฝาสีครีมก็ดี ไม่ควรใช้น้ำตาลโมลาส หรือซีอิ๊วหวานสูตร 5 ได้สีเข้มก็จริง แต่เดี๋ยวจะทำให้เสียรส เสียกลิ่น)
คนผสมให้ละลายเข้ากัน ชิมรสตามชอบ (ไม่ต้องใส่น้ำซุปลงไปให้เจือจาง แต่ถ้าเห็นว่าข้นมากเพราะใส่ขิงมากไปก็เติมน้ำซุปลงไปสัก 1 ช้อนโต๊ะ)
หมายเหตุ : ชิมให้ถูกปาก ถ้าอ่อนเค็มให้เพิ่มเต้าเจี้ยว ถ้าอ่อนหวานให้เพิ่มน้ำตาลทราย (ระวังนะครับ ถ้าคน ๆ น้ำตาลยังไม่ละลายดี ชิมแล้วจะยังไม่ออกหวาน พอละลายแล้วเดี๋ยวหวานเกินไปนะ) ถ้าอ่อนเปรี้ยวให้เพิ่มน้ำส้มพริกปั่นลงไป (ไม่เพิ่มมะนาวนะครับ) ส่วนชอบเผ็ดมากน้อยก็ปรับสัดส่วนของพริกขี้หนูเสียแต่ทีแรกเลย
ส่วนผสม ข้าวมัน
ข้าวหอมเก่า (ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ข้าวหอมเก่าก็จะดี ที่ไม่ใช่ข้าวหอมใหม่ต้นฤดู หรือข้าวนาปีเสาไห้ อะไรประมาณนี้)
น้ำมันพืช
กระเทียม
ขิงฝานแว่น
เกลือสมุทร 1/2-1ช้อนชา
น้ำตาลกรวด 1 ช้อนชา
น้ำซุป 1 ทัพพี
วิธีทำ
ซาวข้าวให้เรียบร้อย เทน้ำออกให้แห้ง พักไว้ (อย่าซาวข้าวทิ้งไว้ล่วงหน้านานนัก ถึงเวลาจะหุงแล้วค่อยซาวข้าว และควรเตรียมการหุงเมื่อไก่ต้มสุกพอดี เพราะต้องใช้น้ำต้มไก่มาหุงข้าว)
ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันพืชลงไปเล็กน้อย ใส่กระเทียมสับและขิงฝานแว่นลงไปเจียวพอหอม
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ใส่ข้าวที่ซาวแล้วลงไปผัด
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ช้อนน้ำมันไก่จากหม้อต้มไก่ลงไปผัดกับข้าว (เท่าที่จะช้อนออกมาได้ มีน้ำซุปติดมาด้วยก็ไม่เป็นไร ใช้ตะแกรงมุ้งสแตนเลสแบบนี้ ช้อนน้ำมันออกมาได้ดีทีเดียว)
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
ใส่เกลือสมุทร น้ำตาลกรวด และน้ำซุป แล้วผัดให้เข้ากัน ใช้ไฟกลาง ผัดให้เมล็ดข้าวจากเดิมที่ใส ๆ เริ่มเปลี่ยนเป็นสีขุ่นเหมือนเมล็ดข้าวเหนียว และข้าวเริ่มแห้งติดกระทะ ปิดไฟ ยกลงจากเตา นำไปใส่หม้อหุงข้าว
ตักน้ำต้มไก่ใส่ลงไปในหม้อหุงข้าว ใส่น้ำให้น้อยกว่าปกติที่เคยหุงเล็กน้อย กดปุ่มหุงข้าว เมื่อข้าวสุกแล้ว อุ่นทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 20 นาที
เปิดฝาหม้อหุงข้าวแล้วใช้ช้อนคุ้ยข้าวเบา ๆ เพื่อให้น้ำมันที่ตกอยู่ก้นหม้อหุงข้าวขึ้นมาคลุกกับข้าวให้ทั่ว (หุงครั้งแรกถ้าเค็มหรือจืดไป ครั้งต่อไปก็ปรับสัดส่วนเอานะครับ เหตุเพราะรสชาติของน้ำต้มไก่ที่เราเอามาหุงข้าว รสจัดมากน้อยแค่ไหนนั่นเอง)
เตรียมช็อกไก่ด้วยน้ำเย็น โดยใส่น้ำแข็งก้อนลงในภาชนะ แล้วเติมน้ำลงไป จากนั้นใส่ไก่ที่ต้มไว้ลงไปในอ่างน้ำเย็น (วิธีคือ เมื่อต้มเสร็จให้เอาขึ้นจากหม้อแล้วแช่ในน้ำเย็นทันที) แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5–10 นาที
9. ตักขึ้นสะเด็ดน้ำแล้วเอาน้ำมันพืชมาทาหนังไก่ไว้ให้ทั่ว ๆ (จะใช้แปรงหรือมือก็ได้ แล้วแต่สะดวก)
ข้าวมันไก่ พร้อมสูตรน้ำจิ้ม เคล็ดไม่ลับที่ทำเองได้
10. พักทิ้งไว้ประมาณ 3–4 ชั่วโมง (ผิวไก่ก็ยังคงมีสีขาวอมเหลืองสวย เต่งตึงอยู่ตลอดเวลา ไม่แดง ช้ำ กระดำกระด่าง หรือมีกลิ่นหืนแต่ประการใด)
หมายเหตุ : การช็อกไก่ด้วยน้ำเย็น จะทำให้เนื้อไก่นุ่มหนึบ ไม่เละ หนังกรุบ เด้งดึ๋ง และรสสัมผัสเหมือนไก่บ้าน
จากนั้นสับเป็นชิ้น ๆ จัดเสิร์ฟ
วิธีทำน้ำซุปสำหรับรับประทานคู่
น้ำซุปต้มไก่จะมีรสจัดเกินไปกว่าที่จะนำมาเป็นน้ำซุปที่กินกับข้าวมันไก่ได้ทันที ต้องเติมน้ำลงไปให้รสอ่อนลงแล้วนำไปต้มให้เดือดอีกครั้ง ถึงเอามารับประทานคู่กับข้าวมันไก่ได้ (ถ้าน้ำซุปต้มไก่รสอ่อนพอดี ก็นำมาทานเป็นน้ำซุปได้เลย แต่ก็แปลว่าไก่เรารสจะจืดไปนิดนะครับ)
เคล็ดลับ : เวลารับประทานไก่ไม่หมดให้เก็บไว้ในตู้เย็นได้ พอจะเอามารับประทาน ก็ควรเอาออกมาไว้นอกตู้เย็นสัก 30 นาที เพื่อให้ความเย็นคลายไปตามอุณหภูมิห้อง แล้วรับประทานได้เลย ก็จะยังคงอร่อยเหมือนเพิ่งทำเสร็จ ไม่ต้องเอาไปอุ่นโดยวิธีใด ๆ ไม่ว่านึ่งหรือไมโครเวฟ มิเช่นนั้นความอร่อยของเนื้อไก่จะหายไปทันที และกลิ่นหนังไก่ก็จะไม่หอมเหมือนเดิม
ขอบคุณที่มา: หนูมา กับคำว่าใช่ ทาง facebook.